หน้าหลัก

..

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

บ้านจารุประสาน ^^

สถานที่ตั้ง
     บ้านเลขที่66 หมู่ที่7 บ้านดอนตะเกียด ตำบลเฉลียง อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา รหัสไปรษณีย์ 30250

สมาชิกในครอบครัว




คุณพ่อ


นายวันชัย จารุหระสาน

ชื่อ - นามสกุล:: นายวันชัย จารุประสาน
ชื่อเล่น:: โก๋
วันเกิด:: 14 กุมภาพันธ์ 2506
อายุ:: 48 ปี
หนัก-สูง:: 63 กก. 170 ซม.
กรุ๊ปเลือด:: เอ
การศึกษา:: จบชั้นมัถยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนพุทไธสง

 
คุณแม่

นางฤดี จารุประสาน
ชื่อ - นามสกุล:: นางฤดี จารุประสาน
วันเกิด:: 01 กันยายน 2504
อายุ:: 50 ปี
หนัก-สูง:: 49 กก. 144 ซม.
กรุ๊ปเลือด :: โอ
การศึกษา:: จบประริญญาตีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เอกประถมศึกษา


พี่สาว

นางสาววนิดา จารุประสาน

ชื่อ - นามสกุล:: นางสาววนิดา จารุประสาน
ชื่อเล่น:: กุ๊กไก่
วันเกิด:: 06 กุมภาพันธ์ 2534
อายุ:: 20 ปี
หนัก-สูง:: 42 กก. 155 ซม.
กรุ๊ปเลือด :: เอ
การศึกษา:: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะวิทยาการสารสนเทศ สาขาถูมิสารสนเทศ


น้องสาว
นางสาวเกศสุดา จารุปนะสาน
ชื่อ - นามสกุล:: นางสาวเกศสุดา จารุประสาน
ชื่อเล่น:: กุ๊กกิ๊ก
วันเกิด:: 24 สิงหาคม 2538
อายุ:: 16 ปี
หนัก-สูง:: 45 กก. 160 ซม.
กรุ๊ปเลือด :: โอ
การศึกษา:: กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัถยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนครบุรี

1.ครอบครัว

ครอบครัว หมายถึง หน่วยหนึ่งของสังคม ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไปอยู่ร่วมบ้านเดียวกัน ให้การศึกษา อบรมเลี้ยงดู

บ้าน ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน บ้าน ความหมาย ที่อยู่อาศัย สิ่งปลูกสร้างสำหรับเป็นที่อาศัย เช่น บ้านพักตากอากาศ บ้านเช่า โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างสำหรับใช้เป็นที่อาศัยซึ่งมีเจ้าบ้านครอบครอง และหมายรวมถึง แพ หรือ เรือ ซึ่งจอดเป็นประจำ
ความสำคัญของครอบครัว ให้การศึกษา อบรมเลี้ยงดู ถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆและสร้างเสริมประสบการณ์ต่างๆ ให้กับสมาชิกที่อาศัยอยู่ร่วมกัน ตั้งแต่เกิดจนเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ให้ความรัก ความเมตตา การเอาใจใส่ ห่วงใย อาทร สร้างความเข้าใจ พยายามเข้าใจ และสร้างสมาชิกในครอบครัวให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สังคมต้องการ

ปัญหาครอบครัว
ปัญหาครอบครัวหมายถึงปัญหาที่เกิดขึ้นภายในครอบครัว ได้แก่ปัญหาระหว่างสามีภรรยา ความขัดแย้งระหว่างพ่อกับแม่ พี่กับน้อง พ่อกับลูกหรือแม่กับลูก ปัญหาการติดต่อสื่อสารระหว่างสมาชิกภายในครอบครัว ปัญหาความสัมพันธ์ ความไม่เข้าใจกัน

อาการ
ปัญหาในครอบครัวอาจแสดงอาการออกได้หลากหลายรูปแบบ เช่น บางคนมีความเครียด ปวดหัว ปวดท้องไม่ทราบสาเหตุ หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า เบื่อหน่ายท้อแท้ชีวิต จนอาจถึงคิดอยากตาย อาจมีการขัดแย้ง ทะเลาะเบาะแว้งกันบ่อยๆ ปัญหาอาจลุกลามใหญ่โต หรือเรื้อรัง จนอาจทำให้สมาชิกครอบครัวเกิดอาการทางจิตเวช หรือป่วยทางจิตเวชกันได้หลายคน เช่น โรคจิต โรคประสาท โรคซึมเศร้า โรคติดสารเสพติด โรคบุคลิกภาพแปรปรวน ดังนั้นการแก้ไขปัญหาครอบครัวตั้งแต่ต้น จึงช่วยป้องกันปัญหาทางจิตเวช และความเจ็บป่วยทางกายได้

การรักษา
การแก้ไขปัญหาครอบครัว สามารถให้การรักษาได้หลายระดับ ตั้งแต่การให้คำปรึกษาครอบครัว ไปจนถึงการรักษาแบบครอบครัวบำบัด ซึ่งมีหลักการรักษา คือ สมาชิกครอบครัวทุกคนมีส่วนร่วมในการเข้าใจปัญหา หาทางคลี่คลายหรือแก้ไขปัญหาร่วมกัน ช่วยกันปรับเปลี่ยนตนเอง โดยไม่ต้องรอให้อีกฝ่ายหนึ่งแก้ไขก่อน
การรักษาวิธีนี้ แพทย์จะไม่ค้นหาตัวปัญหา หรือ คนผิด ไม่ตัดสินว่าใครผิดถูก การช่วยกันปรับความสัมพันธ์ระหว่างกัน การวางตัวต่อกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจกัน บนพื้นฐานของความรัก ความอบอุ่นความห่วงใย ความปรารถนาดีต่อกัน
ในกรณีที่ความขัดแย้งมีสะสมมานาน การรักษาจะไม่ขุดคุ้ยความขัดแย้งเก่าๆขึ้นมาอีก แต่จะวิเคราะห์เฉพาะปัญหาในปัจจุบัน หากลยุทธ หรือวิธีการใหม่ๆ เพื่อคลี่คลายปัญหาหรือความขัดแย้ง สร้างคุณภาพชีวิตครอบครัวเพื่อให้ทุกคนมีความสุข

2.ประเภทของครอบครัว

ครอบครัวในสังคมต่าง ๆ ย่อมมีโครงสร้างและลักษณะแตกต่างกันไป ซึ่งถ้าจะแบ่งครอบครัวเป็นประเภทใหญ่ ๆ เพื่อสะดวกในการศึกษาจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภท

2.1 ครอบครัวเดี่ยวหรือครอบครัวเฉพาะ
ประกอบด้วยบิดา มารดาและบุตรเท่านั้น ซึ่งสมาชิกในครอบครัวจะมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด คือทั้งทางสายโลหิตและทางกฎหมาย (การรับจดทะเบียนบุตรเป็นบุตรบุญธรรม) ขนาดของครอบครัวขึ้นอยู่กับจำนวนบุตรที่ถือกำเนิดจากบิดา มารดา ถึงแม้จะมีการรับบุตรบุญธรรมบ้าง ก็มีจำนวนไม่มาก สังคมสมัยใหม่ทั่วไปมักมีครอบครัวประเภทนี้เป็นจำนวนมาก จนมีผู้กล่าวว่าสังคมใดมีความเจริญทางอุตสาหกรรมและการค้า ครอบครัวในสังคมนั้นจะเป็นครอบครัวเดี่ยวหรือครอบครัวเฉพาะเป็นส่วนใหญ่

2.2 ครอบครัวขยายหรือครอบครัวเสริม
ครอบครัวประเภทนี้มีพื้นฐานจากครอบครัวเดิมมาจากครอบครัวเฉพาะ ซึ่งสมาชิกประกอบด้วย บิดา มารดา และบุตร นอกจากนี้ยังมีญาติพี่น้องอื่น ๆ เป็นสมาชิกอาศัยร่วมอยู่ด้วย ซึ่งอาจจะเป็น ปู่ ย่า ตา ยาย หรือ ลุง ป้า น้า อา และอาจจะมีหลานร่วมด้วย ครอบครัวขยายจึง มีสมาชิกมากกว่าครอบครัวเฉพาะ นอกจากครอบครัวขยายหรือครอบครัวเสริมมีความแตกต่างกับครอบครัวเดี่ยวหรือครอบครัวเฉพาะในเรื่องของสมาชิกแล้ว ความสัมพันธ์และโครงสร้างระหว่างสมาชิกก็มีความแตกต่างกันด้วย
ในสมัยก่อนครอบครัวของสังคมไทยมีลักษณะเป็นครอบครัวขยายหรือครอบครัวเสริมเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้เนื่องจากการดำรงชีวิตของคนไทยในอดีต เป็นสังคมเกษตรกรรม ต้องอาศัยแรงงานจากครอบครัวในการทำเกษตร แต่ปัจจุบันของคนไทยเปลี่ยนแปลงและมีความหลากหลายอาชีพ ทำให้ครอบครัวขยายหรือครอบครัวเสริมมีมากขึ้นเช่นกัน แต่ข้อดีของครอบครัวขยายหรือครอบครัวเสริมที่ น่าสนใจเมื่อเปรียบเทียบกับครอบครัวเดี่ยวหรือครอบครัวเฉพาะ เนื่องจากในสังคมไทยปัจจุบันสามีภรรยามักออกทำงานนอกบ้านทั้งคู่ ลูกจ้างที่ต้องเลี้ยงดูบุตรที่ยังเล็กอยู่หาได้ยากหรืออาจได้ลูกจ้างที่ ไม่เหมาะสม ซึ่งมีผลทำให้บุตรเจริญเติบโตมาด้วยความว้าเหว่ ขาดความอบอุ่น ถ้ามีญาติผู้ใหญ่อาศัยอยู่ด้วยแบบครอบครัวขยายหรือครอบครัวเสริมก็สามารถดูแลให้การอบรมคุณธรรม จริยธรรม ด้วยความรักความเอาใจใส่ ทำให้บุตรเจริญเติบโตเป็นคนดี มีคุณธรรม เป็นพลเมืองที่ดีของสังคมและประเทศชาติ ซึ่งบิดาและมารดาที่มีภาระหน้าที่พิเศษทางสังคมเป็นจำนวนมากไม่สามารถทำได้

3.ความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัว

       แต่ละครอบครัวทั้งครอบครัวขยายและครอบครัวเดี่ยวมีสมาชิกอาศัยและปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน สมาชิกในครอบครัวจึงมีความสัมพันธ์กันในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

3.1 สามีและภรรยา
มีความสัมพันธ์บนพื้นฐานความต้องการทางเพศของมนุษย์ คือ การมีเพศสัมพันธ์ ความรับผิดชอบร่วมกันในด้านต่าง ๆ เช่น การดูแลบุตรหรือผู้สูงอายุในครอบครัว การให้ความช่วยเหลือญาติพี่น้องของทั้งสองฝ่ายตามสมควร โดยเฉพาะความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ การหารายได้สู่ครอบครัว การร่วมกันคิดตัดสินใจในค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของครอบครัวและการให้ความรักความอบอุ่น ทางด้านจิตใจซึ่งกันและกัน

3.2 พ่อ แม่และลูก
ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อ แม่กับลูกนั้น มีตั้งแต่ลูกเกิด พ่อแม่มีหน้าที่ให้การเลี้ยงดูส่งเสริมการเรียนและส่งเสริมสุขภาพ ส่วนลูกก็มีหน้าที่ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ในสังคมไทย พ่อแม่จะดูแลลูกเมื่อลูกยังเด็ก และเมื่อลูกเติบโตเป็นผู้ใหญ่ก็จะมาดูแลพ่อแม่อีกที

3.3 พี่น้อง
จะมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดเพราะว่าเติบโตมาด้วยกันอยู่ในครอบครัวเดียวกัน มีความรัก ความอบอุ่นร่วมกัน พี่น้องจึงมักให้การช่วยเหลือกันในด้านต่าง ๆ อยู่เสมอ เช่น ด้านเศรษฐกิจ ด้านการงาน เป็นต้น

3.4 เครือญาติ
เป็นสถานะของครอบครัวที่มีการขยายหรือกระจายกว้างขวางออกไป เช่น ญาติฝ่ายสามี ญาติฝ่ายภรรยาหรือกรณีนามสกุลเดียวกัน ความช่วยเหลือหรือความสัมพันธ์ต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับ ความสนิทสนมในการไปมาหาสู่ซึ่งกันและกัน หากสนิทกันมากก็จะให้ความช่วยเหลือกันเช่นเดียวกับ พี่น้อง

4.บทบาทหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัว

หน้าที่ของบุคคลที่มีต่อครอบครัว สมาชิกในครอบครัวเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค การช่วยเหลือซึ่งกันและกันในครอบครัวเป็นบทบาทหน้าที่ที่สมาชิกแต่ละคนพึงปฏิบัติ ดังนี้

4.1 หน้าที่ของบิดา
บิดามารดาเป็นหัวหน้าครอบครัวมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบต่อตนเองและต่อสมาชิกทุกคนในครอบครัว เป็นผู้ที่มีบทบาทที่สำคัญยิ่งในการดำเนินชีวิตของสมาชิกทุกคนในครอบครัว บิดามารดาที่ดีควรปฏิบัติหน้าที่ดังต่อไปนี้
      4.1.1 ประกอบอาชีพในทางสุจริตด้วยความขยันหมั่นเพียรเพื่อหาทรัพย์สินมาใช้จ่ายสร้างประโยชน์และความสุขให้กับสมาชิกในครอบครัว โดยไม่ก่อหนี้สินและใช้จ่ายอย่างประมาณตน
      4.1.2 รู้จักวางแผนการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ในครอบครัว เช่น รู้จักเก็บออมไว้ใช้จ่ายยามจำเป็น เช่น ค่าเล่าเรียนบุตร ค่ารักษาพยาบาลของสมาชิกในครอบครัว เป็นต้น
      4.1.3 เป็นแบบอย่างที่ดีต่อบุตร ในด้านความประพฤติและปฏิบัติตนในทางที่เหมาะสม ย่างสม่ำเสมอ
      4.1.4 อบรมสั่งสอนบุตรให้เป็นคนดี มีคุณธรรม มีวินัยในการดำรงชีวิตดังนี้
          1) อธิบายให้บุตรเชื่อมั่นในการทำความดี มีหลักยึดเหนี่ยวจิตใจ
          2) โน้มน้าวให้บุตรประพฤติดีงาม สุจริต รู้จักเลี้ยงชีวิต มีวินัย มีกิริยามารยาทอันดีงาม
          3) ปลูกฝังเจตคติที่ดีในการศึกษาหาความรู้เพื่อปรับปรุงชีวิตให้มีหลักฐานมั่นคง
          4) อบรมสั่งสอนให้บุตรให้มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โอบอ้อมอารี สร้างสรรค์ประโยชน์ให้กับตนเองและสังคมในโอกาสต่าง ๆ ตามความเหมาะสม
      4.1.5 ดูแลทุกข์สุขและให้ความอบอุ่นต่อตนเองและแก่บุตร เป็นที่พึ่งของบุตรรวมทั้งมอบทรัพย์สมบัติให้เมื่อถึงโอกาสอันควร
      4.1.6 รับผิดชอบในด้านการศึกษาของบุตรโดยสนับสนุนให้ศึกษาเล่าเรียนตามความสามารถและสติปัญญาของบุตรอย่างเต็มกำลังความสามารถ เพื่อบุตรจะได้มีวิชาความรู้นำไปประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้

4.2 หน้าที่ของสามีภรรยา
สามีภรรยาควรมีบทบาทและหน้าที่ดังนี้
      4.2.1 มีความสนใจในแนวทางเดียวกัน มีจิตใจหนักแน่น ปรับตัวเข้าหากัน
      4.2.2 เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โอบอ้อมอารี ใจกว้าง เสียสละ พร้อมที่จะช่วยเหลือเกื้อกูล ซึ่งกันและกัน
      4.2.3 รู้เหตุผล เข้าใจกัน ไม่ขัดแย้งอย่างไม่มีเหตุผล และไม่ยึดเหตุผลของตนเองเพียงฝ่ายเดียว
      4.2.4 เอาใจใส่และห่วงใยซึ่งกันและกัน เป็นเพื่อนร่วมทุกข์ร่วมสุขในทุกโอกาส พยายามเข้าใจในคามรู้สึก ความต้องการและสภาพปัญหาของแต่ละฝ่าย
      4.2.5 ยกย่องซึ่งกันและกัน ไม่ดูหมิ่น ไม่นอกใจคู่สมรส

5.บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคคลในครอบครัวและสังคม หน้าที่ของครอบครัว

      ครอบครัวเป็นสถาบันทางสังคมที่เล็กที่สุด แต่สำคัญที่สุด เนื่องจากเป็นสถาบันแรกที่สามารถหล่อหลอมและพัฒนาบุคคลต่างๆในครอบครัวให้เป็นบุคคลอันพึงประสงค์ของสังคม ซึ่งมีหน้าที่คือ
หน้าที่สร้างสรรค์สมาชิก ครอบครัวมีหน้าที่สร้างสมาชิกใหม่ขึ้นทดแทนษมาชิกเดิมที่จากไป เพื่อสืบวงศ์ตระกูลต่อไป แต่ก็ต้องตั้งอยู่บนความสมดุลกับสังคมถ้ามากเกินไปก็จะทำให้เกดปัญหาสังคมตามมา
หน้าที่อบรมสั่งสอนระเบียบของสังคม ครอบครัวเป็นสถาบันแรกที่มีหน้าที่และบทบาทในการอบรมสั่งสอนที่สำคัญที่สุด โดยมุ่งเน้นให้รู้จักค่านิยมพื้นฐานทางวัฒนธรรม การพัฒนาบุคลิกภาพ ลักษณะนิสัย และการปรับตัวเข้ากับสังคม

      หน้าที่ให้ความรักและความอบอุ่น ครอบครัวเป็นแหล่งสำคัญในการให้ความรัก ความอบอุ่นและกำลังใจแก่สมาชิกเพื่อให้สามารถต่อสู้และมีกำลังใจในการดำเนินชีวิตในสังคมได้
หน้าที่กำหนดสถานภาพ เมื่ออยู่ในครอบครัว สมาชิกทุกคนจะมีสถานภาพที่ถูกกำหนดขึ้นโดยกำเนิด เช่น เพศ เชื้อชาติ ศาสนา เชื้อชาติ สัญชาติ และสถานะในครอบครัวรวมถึงในวงสังคม
หน้าที่ปกป้องคุ้มครองหรือเลี้ยงดูผู้เยาว์ ครอบครัวจะทำหน้าที่ดูแลปกป้องและพัฒนาสมาชิกที่เกิดขึ้นใหม่ ทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ และให้การศึกษา
หน้าที่ทางเศรษฐกิจ สมาชิกในครอบครัวทุกคนถือเป็นหน่วยการผลิตที่สำคัญ ทุกคนจะต้องทำงานและแบ่งผลผลิตซึ่งกันและกัน เช่น พ่อแม่จะทำมาหากินเพื่อเลี้ยงลูกในวันเด็ก แต่พอในวัยหนุ่มสาวลูกก็จะทำมาหากินเพื่อเลี้ยงดูพ่อแม่

      หน้าที่ทางการศึกษา ครอบครัวเป็นแหล่งการศึกษาแห่งแรกของสมาชิก แต่เมื่อถึงวัยต้องรับการศึกษาในโรงเรียน ครอบครัวก็มีหน้าที่ต้องส่งสมาชิกเข้าเล่าเรียนศึกษา โดยต้องให้การสนับสนุนในเรื่องการศึกษา เพื่อให้มีความรู้เพื่อที่สามารถจะประกอบอาชีพได้ในอนาคต
หน้าที่ทางศาสนา ครอบครัวต้องมีหน้าที่ในการปลูกฝังให้เลื่อมใสในศาสนาประจำชาติ และส่งเสริมให้ปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของศาสนา เพื่อให้เป็นคนดีของสังคม

.